Vossen
hero

บทความ

บทความ ความรู้ทั่วไปต่างๆ ที่น่าสนใจ

ทำอย่างไรถึงจะได้งานตำแหน่งโปรแกรมเมอร์

ทำอย่างไรถึงจะได้งานตำแหน่งโปรแกรมเมอร์ กฎข้อที่หนึ่งในการสมัครงานตำแหน่งโปรแกรมเมอร์ทำในสิ่งที่คุณเก่งที่สุด นี้สามารถใช้กับการไปเลือกเรียนต่อได้ด้วย เมื่อคุณจะเลือกเรียนปริญญาตรีเพื่อให้ได้วุฒิวิศกรรมศาสตร์ ก่อนที่คุณจะเลือกสาขาคอมพิวเตอร์ นี่เป็นโอกาสดีที่คุณสามารถเลือกเรียนสาขาใดสาขาหนึ่งในด้านวิศวกรรมเช่นวิศวกรรมโยธาและวิศวกรรมไฟฟ้าได้ด้วยเช่นกัน เพราะฉะนั้นคิดให้มากสำหรับการเลือกสาขาหลัก มันยากมากที่วิศวกรโยธาจะได้ฝึกงานในสนามจริง แต่จะแตกต่างได้อย่างสิ้นเชิงหากเป็นโปรแกรมเมอร์ คุณสามารถหาประสบการณ์ได้มากเท่าที่คุณต้องการ หากคุณเป็นโปรแกรมเมอร์ที่ต้องการเริ่มเขียนเว็บไซต์หรือสร้างวีดีโอเกมส์ คุณสามารถเริ่มเรียนรู้ได้จากการอ่านหรือหาข้อมูลจาก Source code ได้จาก internet และเริ่มทำมันได้ทันที แต่ถ้าคุณเป็นวิศวกรโยธาคุณจะต้องสร้างสะพานหรือให้ง่ายกว่านั้นอาจจะเล่นเลโก้แทน ในเศรษฐกิจที่มีการแข่งขันสูงโปรแกรมเมอร์ที่ได้งานส่วนมากจะเป็นคนที่มีประสบการณ์และผลงานของพวกเขาได้รับการยอมรับซึ่งนำมาซึ่งกฏข้อถัดไป   กฎข้อที่สองในการสมัครงานตำแหน่งโปรแกรมเมอร์คือมีผลงานนำเสนอ (Portfolio) ในโลกของการพัฒนาซอฟแวร์เป็นโลกที่แปลกประหลาด  บริษัทจะจ้างคนขึ้นอยู่กับความสามารถไม่ได้อยู่ใน “ประสบการณ์” ในความเป็นจริงมีประสบการณ์ 15 ปีในโลกของการพัฒนาซอฟแวร์อาจไม่ได้มีความหมายอะไรเลยก็ได้ การฝึกงาน มีส่วนร่วมใน โอเพนซอร์สโปรแจ็ค สร้างโปรแจ็คของคุณเอง ประเด็นก็คือจะมีอะไรเจ๋งๆ ที่จะเอาไว้คุยตอนสัมภาษณ์ ถ้าคุณได้เป็นโปรแกรมเมอร์หรือนักพัฒนาซอฟท์แวร์หลังจากที่คุณจบการศึกษามันจะดีกว่ามากถ้าผู้สัมภาษณ์สามารถพูดคุยกับคุณในเรื่องอื่นๆ ได้มากกว่าวิชาที่คุณชื่นชอบ   กฎข้อที่สามคืออย่าทำตัวเหมือนหน้าใหม่ จากที่บอกไปแล้วจากสภาวะปัจจุบันที่มีการแข่งขันสูง บริษัทไม่มีเงินมากพอที่จะเสี่ยงจ้างพวกหน้าใหม่ พวกเขาต้องการที่จะจ้างคนที่สามารถเข้าใจงานและต่อยอดโปรแจ็คให้สำเร็จได้ในทันที มีเพียงเล็กน้อยที่คุณเองจะต้องไปฝึกฝนเอาเองตอนคุณทำงานจริง (on the job training) ดังนั้นทำอย่างไรให้คุณไม่ถูกมองเป็น “หน้าใหม่” อย่าแต่งตัวใส่สูทเต็มยศไปสัมภาษณ์งาน เป้าหมายถึงแต่งตัวให้ดูดีและดูสบายๆ พกผลงานที่คุณทำ ตกแต่งหน้าจอให้ดูสวยงามแต่อย่าให้มันดูเว่อเกินไปเพราะผู้สัมภาษณ์จะสัมภาษณ์เจาะลึกถึงผลงานซึ่งคุณจะได้อธิบายถึงรายละเอียดถึงผลงานที่คุณเคยทำได้ อย่าใช้ศัพท์แสงงี่เง่าในงานของคุณ ตัวอย่างเช่น การสมัครงานออนไลน์มีวลีที่ไร้สาระเช่น […]

85922510-645x250


ทำอย่างไรถึงจะได้งานตำแหน่งโปรแกรมเมอร์

กฎข้อที่หนึ่งในการสมัครงานตำแหน่งโปรแกรมเมอร์ทำในสิ่งที่คุณเก่งที่สุด นี้สามารถใช้กับการไปเลือกเรียนต่อได้ด้วย
เมื่อคุณจะเลือกเรียนปริญญาตรีเพื่อให้ได้วุฒิวิศกรรมศาสตร์ ก่อนที่คุณจะเลือกสาขาคอมพิวเตอร์ นี่เป็นโอกาสดีที่คุณสามารถเลือกเรียนสาขาใดสาขาหนึ่งในด้านวิศวกรรมเช่นวิศวกรรมโยธาและวิศวกรรมไฟฟ้าได้ด้วยเช่นกัน เพราะฉะนั้นคิดให้มากสำหรับการเลือกสาขาหลัก มันยากมากที่วิศวกรโยธาจะได้ฝึกงานในสนามจริง แต่จะแตกต่างได้อย่างสิ้นเชิงหากเป็นโปรแกรมเมอร์ คุณสามารถหาประสบการณ์ได้มากเท่าที่คุณต้องการ หากคุณเป็นโปรแกรมเมอร์ที่ต้องการเริ่มเขียนเว็บไซต์หรือสร้างวีดีโอเกมส์ คุณสามารถเริ่มเรียนรู้ได้จากการอ่านหรือหาข้อมูลจาก Source code ได้จาก internet และเริ่มทำมันได้ทันที แต่ถ้าคุณเป็นวิศวกรโยธาคุณจะต้องสร้างสะพานหรือให้ง่ายกว่านั้นอาจจะเล่นเลโก้แทน

ในเศรษฐกิจที่มีการแข่งขันสูงโปรแกรมเมอร์ที่ได้งานส่วนมากจะเป็นคนที่มีประสบการณ์และผลงานของพวกเขาได้รับการยอมรับซึ่งนำมาซึ่งกฏข้อถัดไป

 

กฎข้อที่สองในการสมัครงานตำแหน่งโปรแกรมเมอร์คือมีผลงานนำเสนอ (Portfolio)

ในโลกของการพัฒนาซอฟแวร์เป็นโลกที่แปลกประหลาด  บริษัทจะจ้างคนขึ้นอยู่กับความสามารถไม่ได้อยู่ใน “ประสบการณ์” ในความเป็นจริงมีประสบการณ์ 15 ปีในโลกของการพัฒนาซอฟแวร์อาจไม่ได้มีความหมายอะไรเลยก็ได้

  • การฝึกงาน
  • มีส่วนร่วมใน โอเพนซอร์สโปรแจ็ค
  • สร้างโปรแจ็คของคุณเอง

ประเด็นก็คือจะมีอะไรเจ๋งๆ ที่จะเอาไว้คุยตอนสัมภาษณ์ ถ้าคุณได้เป็นโปรแกรมเมอร์หรือนักพัฒนาซอฟท์แวร์หลังจากที่คุณจบการศึกษามันจะดีกว่ามากถ้าผู้สัมภาษณ์สามารถพูดคุยกับคุณในเรื่องอื่นๆ ได้มากกว่าวิชาที่คุณชื่นชอบ

 

กฎข้อที่สามคืออย่าทำตัวเหมือนหน้าใหม่

จากที่บอกไปแล้วจากสภาวะปัจจุบันที่มีการแข่งขันสูง บริษัทไม่มีเงินมากพอที่จะเสี่ยงจ้างพวกหน้าใหม่ พวกเขาต้องการที่จะจ้างคนที่สามารถเข้าใจงานและต่อยอดโปรแจ็คให้สำเร็จได้ในทันที มีเพียงเล็กน้อยที่คุณเองจะต้องไปฝึกฝนเอาเองตอนคุณทำงานจริง (on the job training)

ดังนั้นทำอย่างไรให้คุณไม่ถูกมองเป็น “หน้าใหม่”

  • อย่าแต่งตัวใส่สูทเต็มยศไปสัมภาษณ์งาน เป้าหมายถึงแต่งตัวให้ดูดีและดูสบายๆ
  • พกผลงานที่คุณทำ ตกแต่งหน้าจอให้ดูสวยงามแต่อย่าให้มันดูเว่อเกินไปเพราะผู้สัมภาษณ์จะสัมภาษณ์เจาะลึกถึงผลงานซึ่งคุณจะได้อธิบายถึงรายละเอียดถึงผลงานที่คุณเคยทำได้
  • อย่าใช้ศัพท์แสงงี่เง่าในงานของคุณ ตัวอย่างเช่น การสมัครงานออนไลน์มีวลีที่ไร้สาระเช่น “เป้าหมายที่มุ่งเน้นการแสวงหาแรงบันดาลใจ” มองหาตำแหน่งบุคคลในสภาพแวดล้อมที่เปรียวอย่างรวดเร็วที่พวกเขาจะสามารถเติบโตได้เรียนรู้และล่วงหน้า” ทั้งหมดที่ฉันเห็นเมื่อฉันอ่านนั่นคือ “คุณคือหน้าใหม่”
  • อย่าบอกว่าคุณเก่งหลายอย่าง หากคุณเขียนในประวัติของคุณว่าคุณสามารถเขียนได้ทั้ง Ruby และ PHP คุณจะต้องแน่ใจว่าคุณสามารถตอบคำถามอย่างละเอียดในแต่ละภาษา และคาดว่าจะตอบคำถามกต่างๆ นี้ได้ เช่น “คุณสามารถบอกข้อแต่ต่างทั้งดีและไม่ดีของทั้ง PHP และ Ruby ได้หรือไม่” นี่จะเป็นคำถามปลายเปิดและสัมภาษณ์ที่เป็นจริงเพียงแค่พยายามที่จะ วัดความเชี่ยวชาญของคุณ

 

กฎข้อที่สี่คือว่ามันโอเคที่จะบอกว่าคุณไม่รู้

“ผมไม่รู้.” – วลีที่ยอดเยี่ยมที่นักเรียนหลายล้านคนทั่วโลกใช้ และจะได้รับความสนใจจากครูเมื่อพวกเขาพูดว่าไม่รู้ก็หมายถึงว่าเขาไม่ได้ตั้งใจเรียน แต่ในโลกธุรกิจแล้ว คำว่า “ไม่รู้” หมายถึงหายนะ

เดาสิ หากคุณกำลังจะต้องตอบคำถามที่คุณไม่ได้เตรียมตัวมาก่อน อย่างเช่น  “เราจะมีวิธีอย่างไรในการบริหารความจำโดยใช้ภาษา C # ?,” และหากคุณไม่รู้ให้คุณใจเย็นไว้ และพูดอะไรบางอย่างเช่น “จริงๆ แล้วมันเป็นสิ่งที่คุณยังไม่ได้ศึกษาในเข้าใจชัดอย่างชัดเจนและคุณไม่แน่ใจ” ผู้สัมภาษณ์อาจขอให้คุณอธิบายวิธีที่คุณคิดว่ามันทำงานและคุณคิดว่ามันเวิร์ค นี่คือเวลาที่คุณจะสามารถพูดในสิ่งที่คุณคิดซึ่งมันอาจจะผิดก็ได้.. ซึ่งผู้สัมภาษณ์เพียงอาจจะอยากได้ยินแนวคิดของคุณ

สิ่งที่แย่ที่สุดเมื่อคุณทำเหมือนคุณรู้แต่มันผิด ซึ่งในการพัฒนาซอฟท์แวร์การยอมรับการช่วยเหลือหรือว่าบอกคนอื่นว่าคุณไม่รู้เป็นหัวใจสำคัญที่จะให้ทีมสำเร็จได้ หัวหน้าโครงการต้องการที่มีทัศนะคติที่ว่า “ฉันทำได้” มากกว่าคนทำให้งานล่าช้าเพียงเพราะว่าพวกเขาปฏิเสธที่จะได้รับการช่วยเหลือ

การพูดว่า “คุณไม่รู้” ไม่ได้ทำให้คุณดูเหมือนพวกหน้าใหม่ (ดูกฎข้อ 3) เพราะในโลกของการพัฒนาซอฟท์แวร์มันยิ่งใหญ่ไพศาลมาก มันเป็นไปไม่ได้ที่คุณจะรู้ทุกสิ่งเพราะทุกสิ่งมันเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

 

กฎสำคัญที่ห้าคือการที่คุณจะต้องสร้างการยอมรับ

มีตัวตนอยู่ใน Google (โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณมีนามสกุลไม่ซ้ำกับใครเช่น Katzgrau) สำหรับผมไม่มีชื่อของใครที่สามารถหาไม่ได้ใน Google เมื่อใดที่ผมต้องทำงานเกี่ยวข้องกับนักพัฒนาซอฟท์แวร์คนอื่นๆ ผมจะหาข้อมูลเกี่ยวกับเขาว่าเคยทำอะไรมาแล้วบ้างหรือมีชื่อเสียงหรือไม่

เพราะถ้าพวกเขามี Website, Blog, GitHub, StackOverflow, sourceforge ฯลฯ ผมก็สามารถรู้จักพวกเขาอย่างแท้จริงได้ หากผมสามารถเห็น Source Code ที่พวกเขาสร้างเพือแบ่งปันไว้ทาง on line ยิ่งทำให้ผมรู้ได้อย่างชัดเจนเลยว่าพวกพวกเป็นนักพัฒนาซอฟท์แวร์แบบใด ไม่ใช่พวกที่เดินเข้ามาแล้วทำให้ผมประทำใจมากกว่าที่จะทำงานดี

สร้าง Website, Blog หรือ บัญชีสาธารณะที่ที่คุณจะโชว์ความสามารถที่คุณมีให้ทุกคนได้เห็น

 

ที่มา : http://codefury.net/

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *